นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย
【 ปรากฏกลาย • Photomutagenesis 】

※ For English please scroll down.

Chim↑Pom (Tokyo, Japan)
Wimo Ambala Bayang (Yogyakarta, Indonesia)
Supapong Laodheerasiri (Chiang Rai, Thailand)

■ 2 ธันวาคม 2560 – 4 กุมภาพันธ์ 2561

■ The Laboratory Hotel ถ.ศิริมังคลาจารย์ (10:00 – 21:00 น. ทุกวัน)
■ Asian Culture Station ถ.นิมมานเหมินท์ (11:00 – 19:00 น. วันพุธ – วันอาทิตย์)

■ การบรรยายโดย Wimo Ambala Bayang ศิลปินชาวอินโดนีเซีย
วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2560 เวลา 17:00 – 19:00 น.
ที่ Asian Culture Station ถ.นิมมานเหมินท์ จ.เชียงใหม่

■ เปิดนิทรรศการ: วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2560 เวลา 19:00 น. เป็นต้นไป
ที่ The Laboratory Hotel เลขที่ 64 ถ.ศิริมังคลาจารย์ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่

แสง มักจะปรากฏขึ้นในการเล่าถึงความเปลี่ยนแปลง อย่างการกำเนิดจักรวาลในพระคัมภีร์ (let there be light) การเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (enlightenment) หรือกระทั่งความฝันที่ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน (บทกวีในช่วง 14 ตุลา 2516) ไม่เพียงแต่การเปรียบเปรยทางภาษาเท่านั้น แต่แสงในความเป็นจริงนั้นก็มีอิทธิพลต่อชีวิตด้วย บางชนิดก็เป็นตัวแปรของการกลายพันธุ์ สามารถเหยียบคันเร่งวิวัฒนาการหดเวลานับล้านปีให้สั้นลงเหลือแค่ชั่วอายุคนก็ทำให้เราเห็นสิ่งมีชีวิตต่างๆ ปรับเปลี่ยนร่างไปได้ และเมื่อโลกมีความผันผวนที่ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และธรรมชาติ ตัวเราเท่าที่เคยเป็นอยู่ก็อาจกลับกลายเป็นไม่เพียงพอที่จะทำให้อยู่รอดต่อไปได้ เราจึงยังหวังที่จะมีแสงประหลาดสาดส่องมาและนำพาความต้องการในใจที่ยังไม่เคยเป็นจริงให้มาปรากฏเร็วขึ้น

Asian Culture Station ขอเสนอ ปรากฏกลาย • Photomutagenesis นิทรรศการของงานศิลปะร่วมสมัยอันว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง ที่สิ่งหนึ่งได้ก้าวข้ามจากสิ่งที่เป็นอยู่เดิมไปมีอำนาจใหม่ และล้วนแล้วแต่สัมพันธ์กับแสง จากดินแดนที่ต่างเรียกกันและกันว่าผู้รับพรจากแสงตะวัน – ดินแดนอาทิตย์อุทัย และ ภูมิภาคอุษาคเนย์ เพื่อส่องสะท้อนสถานะความเป็นมนุษย์ที่ปรารถนาในแต่ละดินแดนให้ฉายกลับไปหากันและกัน

เมื่อปี 1997 แสงวาบจากโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดการ์ตูนโปเกม่อน ไม่ได้ช็อตให้ศัตรูล้มลงเท่านั้น แต่ได้ทําให้เด็กที่กำลังจ้องดูอยู่ช็อคล้มลง หลายคนในหลายที่พร้อมๆ กันด้วย ตัวละครอย่าง พิกาจู จึงถูกพูดถึงในวงกว้างมากขึ้นและก้าวขึ้นมาเป็นสัตว์ที่ไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติที่มีอำนาจทางวัฒนธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มศิลปิน Chim↑Pom ได้ตระเวนย่านชิบุยะหลายครั้งตั้งแต่ปี 2006 เพื่อไล่จับหนูพันธุ์พิเศษที่กลายพันธุ์ด้วยยาเบื่อหนู พวกมันสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมมนุษย์ได้อย่างเข้มแข็งจนเจ้าหน้าที่สุขาภิบาล ตั้งชื่อให้ว่า Super Rat กลุ่ม Chim↑Pom ได้นำหนูเหล่านี้มาดัดแปลงเป็นพิกาจูผู้น่าชัง เพื่อสร้างเป็นสัญลักษณ์แห่งการเป็นคนนอกที่ดำรงตนอยู่ร่วมในสังคมญี่ปุ่นอย่างห้าวหาญ และหยอกล้อกับความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ในยุคหลังอุปัทวเหตุ 311

Belanda Sudah Dekat! พวกวิลันดาบุกมาแล้ว! ในยุคสมัยของการต่อสู้เพื่อเอกราช พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย มีแนวคิดที่จะให้ประชาชนตามหมู่บ้าน เปลี่ยนมาเป็นแนวร่วมการรบปลดแอกจากเจ้าอาณานิคม ในฐานะ ‘กองกำลังที่ห้า’ ความคิดนี้สาบสูญไปเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ถูกกำจัดในช่วงสงครามเย็น แต่แล้วชาวบ้านในปัจจุบันที่อยู่กันอย่างสงบและมักจะถูกกล่าวหาว่าเรื่อยเปื่อยเฉื่อยชา ก็ได้ปรากฏตัวขึ้นใหม่จากทุกที่พร้อมปืนลำแสง กลายร่างเป็น กองกำลังน้อย หมายเลข 6, 7, 8,… กันอย่างแข็งขัน ในชุดภาพถ่ายของ Wimo Ambala Bayang ซึ่งชี้ให้เห็นการตกค้างอยู่ของอดีตและสิ่งกักขังปัจจุบัน ด้วยบรรยากาศของอนาคตที่ดูไม่เป็นอนาคต

การกลายพันธุ์ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ป้ายประท้วงที่ถ่ายทอดความปรารถนาต่างๆ ของผู้ร่วมการชุมนุมที่เราคุ้นตาจากทั่วโลก ได้รับการนํามาใช้ใหม่โดย ศุภพงศ์ เหล่าธีรศิริ เพื่อปะทะสังสรรค์กับความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยช่วงปี 2013 – 2014 ป้ายประท้วงทุกชนิดได้ถูกพลิกสถานภาพจากสิ่งที่งดงามด้วยถ้อยคำอันเกรี้ยวกราดของประชาชน ไปสู่สิ่งต้องห้ามให้ประชาชนถือแม้จะไม่มีข้อความก็ตามในทันทีที่เกิดการรัฐประหารขึ้น เขาได้สร้างป้าย 2 ชุด ถ่ายทอดข้อความที่น่าจะเกิดขึ้นหลังความเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้เราได้มองย้อนคำขวัญและคำสัญญาต่างๆ ที่ถูกสร้างในระหว่างช่วงเวลานั้นกลับไปพิจารณาความเป็นจริงที่ได้ดำเนินมาถึงปัจจุบัน ว่าสิ่งใดกันแน่ที่กลับเปลี่ยนกลายพันธุ์ไป

จัดโดย Asian Culture Station ในเชียงใหม่ องค์กรในความร่วมมือระหว่าง Japan Foundation Asia Center และ CAC – Chiang Mai Art Conversation โดยได้รับการสนับสนุนจาก The Laboratory Hotel & Across the Universe Cafe และขอขอบคุณคำแนะนำจาก Jason Waite และ Leonhard Bartolomeus

ค้นคว้าและกำกับนิทรรศการ: อธิคม มุกดาประกร
ประสานงาน: วราสินี จันทร์สว่าง
ที่ปรึกษานิทรรศการ: สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา
ติดตั้งนิทรรศการ: Suiboy — วิภูพงศ์ จิระประภูศักดิ์, กีรติ กุสาวดี, ธนยศ รูปขจร และ อดิเทพ ดุกสุขแก้ว
แปลเอกสาร: พิริยาภา พุฒสงคราม

—-

A contemporary art exhibition
ปรากฏกลาย • Photomutagenesis

Chim↑Pom (Tokyo, Japan)
Wimo Ambala Bayang (Yogyakarta, Indonesia)
Supapong Laodheerasiri (Chiang Rai, Thailand)

■ 2 December 2017 – 4 February 2018

■ The Laboratory Hotel, Sirimangkalajarn Road (10 am – 11 am, everyday)
■ Asian Culture Station, Nimmanhemin Road (11 am – 7 pm, Wed – Sun)

■ The lecture by Wimo Ambala Bayang, an artist from Indonesia
Saturday, December 2, 2017, 5 – 7 pm
at Asian Culture Station (Nimmanhemin Road, Chiang Mai)

■ Opening reception:
Saturday, December 2, 2017 from 7pm onward
at The Laboratory Hotel (64 Sirimangkalajarn Road, Suthep, Muang, Chiang Mai)

“Light” is ubiquitous in the narratives of change, such as “Let there be light” (Genesis 1:3), the Age of Enlightenment, or even a dream to see the day when “when there is bright golden sky, the people shall rise to power” (Thai poem composed during the 1973 Thai popular uprising). In fact, light invariably influences life in both figurative and literal senses. Some types of light act as a mutagen—an agent that compresses a million years of evolution into one generation, enabling us to witness evolutionary change in our lifetime. As the global economic, social, and environmental dynamics have become increasingly volatile, our current state of being might no longer be sufficient to ensure our survival. We, therefore, resort to holding on to a belief that one day a great light will shine and, faster than ever, finally turn our deepest wishes into reality.

Asian Culture Station is delighted to present “Photomutagenesis”, a contemporary art exhibition about change, in which subjects transcend their original state to acquire new status and power relative to light. These objects were selected from the sun-blessed lands—Japan (also known as Land of the Rising Sun) and Southeast Asia (known in Thai as “Ushaganeya” or the sun-showered region)—to reciprocally reflect the desired status as a human being in both selected areas upon each other.

In 1997, bright flashes of light from the TV screens showing Pokémon, a Japanese animation, not only gave an electric shock to the protagonist’s enemy, but also simultaneously triggered seizures in many kids who were watching intently from different locations. Subsequently, the anime’s main character like Pikachu was widely mentioned and recognized as a fantasy creature with increasingly higher cultural power. On the contrary, a Japanese artist collective, Chim↑Pom, has patrolled Shibuya district many times since 2006 to capture a new breed of genetically mutated rats caused by ratsbane. These rodents can survive and thrive well amongst a society ruled by humans, thus receiving a nickname of ‘Super Rat’ by pest controllers. Chim↑Pom created an installation of taxidermied Super Rats that were painted as ugly Pikachu. This project symbolizes the state of being an outsider who lives bravely amongst Japanese society, while also satirizing the risk of mutations in the Post-3/11 era.

Belanda Sudah Dekat! (The Dutch Draw Nearer!) During the fight for independence, the PKI (Communist Party of Indonesia) came up with an idea to turn farmers and laborers into their allies to get rid of the imperial power by designating them as the “fifth force” of the National Security Forces. This idea later disappeared with the elimination of the PKI during the Cold War. However, currently living peacefully and often being accused of over compliance and passivity, some local Indonesians suddenly appeared carrying plastic guns. They have enthusiastically turned into the 6th, 7th, 8th,…Brigade in a series of photographs by Wimo Ambala Bayang. This project alludes to the remains of Indonesia’s colonial past and what locks them in the present, against the setting that was intended to be futuristic, but does not really resemble one.

Mutation is not exclusive to living organisms. Familiar protest signs expressing protestors’ intentions from all over the world have been reused by Supapong Laodheerasiri to interact with political movements in Thailand in 2013-14. All kinds of protest signs have been transformed, from beautiful objects that convey the people’s discontent messages into a forbidden instrument, even when the signs are blank. Just when the coup took place, the artist created two sets of signs to express what would happen after this political transition to remind us to take a retrospective look at past slogans and promises made during the military rule, in comparison with the current reality to determine what exactly has mutated.

Researcher & director: Atikom Mukdaprakorn
Coordinator: Warasinee Chansawang
Advisor: Sutthirat Supaparinya
Photographer: Apiwat Singharach
Model: Thanyaluck Jaipanya
Installation: Suiboy — Wipoopong Jiraprapoosak, Geerati Gusawadee, Thanayos Roopkhajorn, and Adithep Duksukkaew
Text translator: Piriyapa Putsongkram