About Speakers and Moderators Symposium on International Art Biennales/Triennales in Southeast Asia Context

 

Zoe Butt

Zoe Butt Sq
Zoe Butt is a curator and writer based in Vietnam. Her curatorial practice centres on building critically thinking and historically conscious artistic communities, fostering dialogue among countries of the global south. She is currently Artistic Director of The Factory Contemporary Arts Centre, Vietnam’s first purpose-built space for contemporary art. She formerly served as Executive Director and Curator of Sàn Art, an independent contemporary art space in Ho Chi Minh City. Her curatorial projects include interdisciplinary platforms such as Conscious Realities; the online exhibition Embedded South(s); and group exhibitions of Vietnamese and international artists at various venues such as the Factory Contemporary Arts Centre and Sàn Art, Vietnam; Carré d'Art - musée d'art contemporain de Nîmes, France; Kadist Art Foundation, USA; and Sherman Contemporary Art Foundation, Australia. She is also a member of the Asian Art Council for the Solomon R. Guggenheim Museum in New York and a Young Global Leader of the World Economic Forum since 2015. In 2019, Zoe presents ‘Journey beyond the Arrow’, one of three exhibitions, as part of the 14th Sharjah Biennial.
Zoe Butt เป็นภัณฑารักษ์และนักเขียนอยู่ที่ประเทศเวียดนาม งานด้านภัณฑารักษ์ของเธอมีหลักใหญ่ใจความอยู่ที่การสร้างความคิดเชิงวิพากษ์และสร้างชุมชนศิลปะที่มีสำนึกเชิงประวัติศาสตร์ ทั้งยังคอยหล่อเลี้ยงบทสนทนาระหว่างประเทศซีกโลกใต้ด้วยกันไว้ เธอเคยเป็นผู้อำนวยการบริหารกับภัณฑารักษ์ของ Sàn Art พื้นที่ทางศิลปะร่วมสมัยอิสระในนครโฮจิมินห์ และปัจจุบันก็ได้มาทำงานเป็นผู้อำนวยการศิลป์ของ The Factory Contemporary Arts Centre พื้นที่ที่สร้างขึ้นมาสำหรับศิลปะร่วมสมัยโดยเฉพาะเป็นแห่งแรกในเวียดนาม เธอเป็นผู้ตั้งโครงงานศิลปะขึ้นมามากมาย อันได้แก่ แพลตฟอร์มผสมสานข้ามศาสตร์อย่าง Conscious Realities, นิทรรศการออนไลน์ Embedded South(s) และเป็นผู้จัดนิทรรศการกลุ่มระหว่างศิลปินเวียดนามกับศิลปินนานาชาติไปแสดงในหลายๆ ที่ เช่นที่ The Factory Contemporary Arts Centre กับ Sàn Art ในประเทศเวียดนาม, Carré d'Art - musée d'art contemporain de Nîmes ประเทศฝรั่งเศส, Kadist Art Foundation สหรัฐอเมริกา และ Sherman Contemporary Art Foundation ประเทศออสเตรเลีย เธอยังเป็นสมาชิก Asian Art Council ของพิพิธภัณฑ์ Solomon R. Guggenheim ในนครนิวยอร์ก และเป็นสมาชิก Young Global Leader ของ World Economic Forum มาตั้งแต่ปี 2558 ด้วย ล่าสุด Zoe กำลังจะเป็นผู้จัด Journey beyond the Arrow หนึ่งในสามนิทรรศการหลักของ Sharjah Biennale ครั้งที่ 14 ในปีหน้า 2562

Gridthiya Gaweewong

GridthiyaSQ
Gridthiya Gaweewong founded arts organization Project 304 in 1996, and is currently Artistic Director of the Jim Thompson Art Center, Bangkok. Her curatorial projects have addressed issues of social transformation confronting artists from Thailand and beyond since the Cold War. Gaweewong has organized exhibitions and events including Underconstruction, Tokyo (2000 - 2002), Politics of Fun at the Haus der Kulturen der Welt, Berlin (2005), the Bangkok Experimental Film Festival (1997 - 2007) (co-founded with Apichatpong Weerasethakul), Saigon Open City in Saigon, Vietnam (2006 - 2007) (with Rirkrit Tiravanija) and Unreal Asia, Oberhausen International Short Film Festival (2010). Gaweewong is on the curatorial team for the 2018, 12th Gwangju Biennale, Imagined Borders.
กฤติยา กาวีวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรศิลปะ Project 304 ขึ้นมาเมื่อปี 2537 และปัจจุบันทำงานเป็นผู้อำนวยการศิลป์ของหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ในกรุงเทพมหานคร โครงงานที่เธอเป็นภัณฑารักษ์จัดทำขึ้นมานั้นได้ปักหมุดหมายให้กับประเด็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ ตั้งแต่ยุคสงครามเย็นที่ศิลปินจากประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เข้าปะทะด้วยมาตลอด เธอได้จัดนิทรรศการและกิจกรรมมาแล้วมากมาย อย่างเช่น Underconstruction ที่กรุงโตเกียว (2543 - 2545), Politics of Fun ที่ Haus der Kulturen der Welt ในกรุงเบอร์ลิน (2005), Bangkok Experimental Film Festival (2538 - 2550) (โดยร่วมมือกันก่อตั้งขึ้นมากับ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล), Saigon Open City ที่นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม (2549 - 2550) (ในความร่วมมือกับ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช) และ Unreal Asia เทศกาลภาพยนตร์สั้นนานาชาติที่เมืองโอเบอร์เฮาเซิน ประเทศเยอรมนี (2553) กฤติยา ยังเป็นหนึ่งในทีมภัณฑารักษ์ของเทศกาล Gwangju Biennale ครั้งที่ 12 Imagined Borders ในปีนี้ด้วย

Fram Kitagawa

Photo: Yuichi Noguchi
Photo: Yuichi Noguchi
Born in Niigata Prefecture in 1946. Following his graduation from Tokyo University of the Arts, Fram Kitagawa organized various exhibitions that introduced to Japan works of art that at the time were not well known. He has been responsible for a wide range of art projects such as the Antoni Gaudi exhibition that traveled to 11 Japanese cities in 1978-1979 and the Apartheid Non! International Art Festival that was shown at 194 venues throughout Japan in 1988-1990. Kitagawa has received high praise for his involvement in activities related to community development, such as his lead role in the planning of the Faret Tachikawa Art Project and the cultural activities he oversees at the Daikanyama Hillside Terrace. He has served as the general director of the Echigo-Tsumari Art Triennale since 2000, and has made a major contribution to the development of the region through art. He has also served as the general director of the Setouchi Triennale since 2010, the Japan Alps Art Festival as well as the Oku-Noto Triennale since 2017. He is the recipient of many awards, including the Ordre des Arts et des Lettres from the French Republic, the Order of Culture from the Republic of Poland, the 2006 Japanese Education Minister’s Award for Art (in the field of art promotion), and the Order of Australia: Honorary Member (AO) in the General Division (2012). He was awarded the Japanese Medal of Honor with Purple Ribbon in 2016 and the Asahi Prize in 2018.
Fram Kitagawa เกิดในจังหวัดนิกาตะ ในปี 1946 หลังจากจบการศึกษาจาก Tokyo University of the Arts เขาได้จัดแสดงผลงานศิลปะในญี่ปุ่นหลายครั้ง เพื่อแนะนำผลงานศิลปะที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก เขายังรับผิดชอบโครงการศิลปะอีกหลากหลายโครงการ อย่างเช่น นิทรรศการ Antoni Gaudi ที่ได้เดินทางไปถึง 11 เมืองในญี่ปุ่น ในปี 1978-1979 และ นิทรรศการ Apartheid Non! International Art Festival ซึ่งถูกแสดงถึง 194 แห่งทั่วญี่ปุ่น ในปี 1988-1990. คุณ Kitagawa ได้รับการยกย่องอย่างสูงสุดสำหรับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน อย่างเช่น บทบาทความเป็นผู้นำในการวางแผน the Faret Tachikawa Art Project และกิจกรรมทางวัฒนธรรมในต่างประเทศที่ the Daikanyama Hillside Terrace เขาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของ Echigo-Tsumari Art Triennale ตั้งแต่ปี 2000 และได้สร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อการพัฒนาภูมิภาคนั้นผ่านศิลปะ เขายังเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของ Setouchi Triennale ตั้งแต่ปี 2010, Japan Alps Art Festival และ the Oku-Noto Triennale ตั้งแต่ปี 2017 นั่นทำให้เขาได้รับรางวัลอย่างมากมายรวมทั้ง Ordre des Arts et des Lettres จาก the French Republic, the Order of Culture from the Republic of Poland, รางวัลของกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่น ปี 2006 สำหรับสาขาศิลปะและการโปรโมท, รางวัล the Order of Australia: Honorary Member (AO) ในสาขาทั่วไป ปี 2012 ล่าสุดเขาเพิ่งได้รับเหรียญเกียรติยศ (ญี่ปุ่น) แถบสีม่วง ในปี 2016 ซึ่งมอบแก่บุคคลที่ได้สนับสนุนต่อการพัฒนาและการปรับปรุงทางวิชาการและศิลปะจนประสบความสำเร็จ และรางวัล Asahi Prize ในปี 2018

Alia Swastika

Alia-2
Alia Swastika has worked as Program Director for Ark Galerie, Yogyakarta, Indonesia since 2008 and is actively involved as a curator, project manager and writer on a number of international exhibitions. With Suman Gopinath, she was the co-curator of the Jogja Biennale XI, Shadow Lines: Indonesia Meets India (2011), and was one of the co-artistic directors for the Gwangju Biennale IX (2012): Roundtable. She also participated as the curator of a special exhibition of Indonesian artists in the 2012 edition of Art Dubai. She has extensive experience for her curatorial projects in Indonesia and abroad. Her recent curatorial works includes co-curators for Europalia Arts Festival Indonesia for Contemporary Art Projects (2017) and “Songs for the People” (Art Sonje, Seoul, 2018). As the director of Jogja Biennale 2015, she was a member of the International Biennale Association Board (2013-2017, and she recently founded ‘Study on Art Practices’, a platform for research into contemporary art in Indonesia. She writes for Frieze, Art Forum, Broadsheet journal, and many others, as well as for numerous publications in Indonesia.
Alia Swastika ทำงานเป็นผู้กำกับโปรแกรมของ Ark Galerie ในเมืองยกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่เมื่อปี 2551 และมีส่วนร่วมเป็นภัณฑารักษ์ ผู้จัดการโครงงาน และนักเขียนให้กับนิทรรศการระดับนานาชาติมามากมาย เธอเป็นภัณฑารักษ์ร่วมกับ Suman Gopinath ในเทศกาล Jogja Biennale ครั้งที่ 11 Shadow Lines: Indonesia Meets India (2554) และเป็นผู้อำนวยการศิลป์ร่วมของเทศกาล Gwangju Biennale ครั้งที่ 9 Roundtable (2555) อีกทั้งยังเป็นภัณฑารักษ์ให้กับนิทรรศการพิเศษของศิลปินอินโดนีเซียในเทศกาล Art Dubai ฉบับปี 2555 ด้วย เธอมีประสบการณ์ที่กว้างขวางในการเป็นภัณฑารักษ์โครงงานต่างๆ ทั้งในอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ งานล่าสุดของเธอคือการเป็นภัณฑารักษ์ร่วมดูแลโครงงานศิลปะร่วมสมัยให้กับงาน Europalia Arts Festival ที่อินโดนีเซีย (2560) และภัณฑารักษ์นิทรรศการ Songs for the People ที่ Art Sonje Center ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ (2561)

Thasnai Sethaseree

Moderator: Panel discussion on “Art Biennales/Triennales: the Balance of Local Expression and Tourists Impression”
Moderator: Panel discussion on “Art Biennales/Triennales: the Balance of Local Expression and Tourists Impression”
Thasnai Sethaseree (b. 1968) is an artist and academic based in Chiang Mai, best known for his conceptual and relational works addressing themes of memory, migration, and the experience of modernity in the context of Thailand’s political history, usually ephemeral in nature; his practice has recently turned to sculpture and painting. Thasnai’s work has been featured in group exhibitions in notable institutions abroad, such as MAIIAM Contemporary Art Museum, the Bangkok Art and Culture Centre, Seoul Museum of Contemporary Art, Yerba Buena Center for the Arts (San Francisco), The Queens Museum (New York), and the Reva and David Logan Center for the Arts (Chicago). He has also participated in the Venice Biennale (2003) and the Gwangju Biennale (2002).
ทัศนัย เศรษฐเสรี (เกิดปี 2511) เป็นศิลปินและนักวิชาการอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ งานเชิงแนวคิดและความสัมพันธ์ของเขาเป็นที่รู้กันดีว่ามีแก่นแกนอยู่ที่เรื่องของความทรงจำ การอพยพ และประสบการณ์ความเป็นสมัยใหม่ในบริบททางประวัติศาสตร์การเมืองประเทศไทย โดยผลงานที่ผ่านมานั้นมักจะไม่มีสภาวะที่จีรังยั่งยืน แต่ภาคปฏิบัติทางศิลปะของเขาในตอนนี้ได้ขยับเคลื่อนไปสู่งานประติมากรรมและจิตรกรรมแทน ผลงานของทัศนัยนั้นได้รับการนำเสนอในนิทรรศการกลุ่มตามสถาบันศิลปะที่โดดเด่นในหลายประเทศ เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, Seoul Museum of Contemporary Art (กรุงโซล), Yerba Buena Center for the Arts (ซานฟรานซิสโก), The Queens Museum (นิวยอร์ก) และ Reva and David Logan Center for the Arts (ชิคาโก) นอกจากนี้ เขายังมีส่วนร่วมในเทศกาล Venice Biennale (2546) และ Gwangju Biennale (2545) อีกด้วย

Sittha Lertphaiboonsiri

Moderator: Panel discussion on “Art Biennales/Triennales in Southeast Asia Context”
Moderator: Panel discussion on “Art Biennales/Triennales in Southeast Asia Context”
Sittha Lertphaiboonsiri is a guest lecturer in Southeast Asian history at Thammasat University and the founder of Film Kawan, a network of students conducting Southeast Asian film screenings and discussions, which he has been involving with since 2001. Between 2011 and 2016, he was a contributor on Southeast Asian films to BIOSCOPE Magazine and has written several academic papers on the Southeast Asian film. His latest article, “Khmer Rouge Narratives in Films: Screening Stories of Stakeholders,” was published in the Regional Journal of Southeast Asian Studies Vol. 2, Issue 2 (July 2017). Sittha holds a bachelor's degree in Southeast Asian Studies from Thammasat University and a master's degree in regional integration from the Asia-Europe Institute of the University of Malaya in Kuala Lumpur, Malaysia.
สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ เป็นอาจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้สอนในเรื่องของประวัติศาสตร์ในอุษาคเนย์ และเป็นผู้ก่อตั้ง Film Kawan เครือข่ายนักศึกษาผู้จัดฉายและจัดงานเสวนาหนังอุษาคเนย์มาตั้งแต่ปี 2544 เขายังเป็นผู้เขียนบทความหนังอุษาคเนย์ให้กับนิตยสาร BIOSCOPE ในช่วงระหว่างปี 2554 ถึง 2559 และเขียนงานวิชาการในเรื่องเดียวกันนี้อีกเป็นจำนวนมาก บทความล่าสุดของเขา “Khmer Rouge Narratives in Films: Screening Stories of Stakeholders” ได้รับการตีพิมพ์ใน Regional Journal of Southeast Asian Studies เล่ม 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2560) สิทธา จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทในสาขาภูมิภาคบูรณาการจากสถาบันเอเชีย-ยุโรปแห่ง University of Malaya ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย