Reflection of Mae Kha
โครงการศิลปะโดย อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต
ภัณฑารักษ์ ลีโน วุธ
※ For English please scroll down.
งานเปิดนิทรรศการ: 7 ธันวาคม 2561 เวลา 17:00-20.00 น.ที่ Asian Culture Station ถ.นิมมานเหมินท์
ภัณฑารักษ์เสวนาร่วมกับศิลปิน: เวลา 17:00-18.00 น.
นิทรรศการ: 8 ธันวาคม 2561 – 3 กุมภาพันธ์ 2562
Reflection of Mae Kha เป็นโครงการที่ทั้งห้าวหาญแล้วก็ถ่อมตัวอยู่ในทีของศิลปิน อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในเชียงใหม่ ครั้งนี้เขาได้พาเราไปสำรวจนิเวศวิทยาของ “คลองแม่ข่า” ทางนํ้าเก่าแก่ของเมืองนี้ โดยในส่วนของความห้าวหาญนั้นอยู่ที่การที่งานได้ตัดข้ามพรมแดนความรู้ไปทั้งในด้านมนุษยศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์ แต่ในทางกลับกันก็ได้แสดงความถ่อมตนออกมาด้วยขนาดและการนำเสนอเรื่องของสิ่งเล็กจิ๋ว โครงการนี้ได้ใช้พื้นที่ที่ต่างกันไปสองในทาง คือ ทางสังคม และ ทางศิลปะ โดยแบ่งการแสดงงานออกเป็นสองรอบ รอบแรกจะเป็นการฉายภาพเคลื่อนไหว ณ ริมคลองแม่ข่า ในวันลอยกระทง และอีกรอบที่ตามมานั้นจะเป็นนิทรรศการที่ Asian Culture Station
คลองแม่ข่า ถูกขุดเพิ่มเติมไว้ใช้งานในปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ยุคอาณาจักรล้านนา เพื่อเชื่อมแหล่งนํ้าจากดอยสุเทพผ่านลงมายังเมืองเชียงใหม่ก่อนจะไหลออกไปสู่แม่นํ้าปิง มันมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการหล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ทั้งในด้านการทหาร สังคม-การเมือง วัฒนธรรม และเกษตรกรรม มาตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา แต่ในช่วง 40 ปีมานี้ นํ้าคลองที่เคยใสสะอาดกลับค่อยๆ ขุ่นหมองและเสื่อมลงจากความเปลี่ยนแปลงของเมือง การสร้างที่อยู่อาศัยกันอย่างไร้การควบคุม และมลภาวะ ซึ่งได้เปลี่ยนให้คลองแม่ข่ากลายเป็นทางระบายนํ้าเสียของเมืองไป
หลายฝ่ายได้พยายามหาทางผลักดันประเด็นและเข้ามาแก้ปัญหาของคลองแม่ข่า ทั้งนักวางผังเมือง ศิลปิน รวมไปถึงกลุ่มคนทำงานทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม อนุสรณ์ได้หวนกลับไปยังปัญหาที่ยังคงอยู่นี้โดยได้เสนอออกมาเป็นภาพสะท้อนที่สดใหม่และการทดลองในทางศิลปะ กว่าหกเดือนที่ศิลปินคนนี้ได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ นักเรียน และชุมชนต่างๆ ตามแนวคลองแม่ข่า ทำการวิจัยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และจิตวิทยาที่มีต่อลำนํ้าสายนี้ ศิลปินได้สวมบทบาทนักวิจัยหลายแบบทำการเก็บตัวอย่างจุลชีพจากนํ้าคลอง เก็บดินริมคลอง และรวมรวมเรื่องเล่าจากชุมชนโดยรอบ
สิ่งเหล่านี้ทั้งที่จับต้องได้และไม่ได้ ถูกเก็บรวบรวมมาทดสอบและแปรรูปไปสู่ชีวิตใหม่ในแบบต่างๆ ภาพเซลล์ของจุลชีพที่ส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ได้รับการนำมาขยายเป็นงานภาพเคลื่อนไหว วิธีการที่ชาวบ้านล้างพิษในตัวปลาจากลำคลองก่อนนำมาบริโภคได้สร้างแรงบันดาลใจให้ศิลปินผู้ฝึกฝนงานทางเซรามิกมาด้วย นำเอาโคลนตมในคลองมาตรวจสอบและปั้นเป็นภาชนะดินเผา และสุดท้ายเรื่องราวต่างๆ ของคลองจากปากคำผู้ได้รับผลกระทบจากมัน ก็ได้ถักทอร้อยเรียงกันเป็นหนังสารคดีขึ้นมาเรื่องหนึ่ง
งานของอนุสรณ์ได้เตือนเราให้ตระหนักถึงการมีอยู่ของชีวิตในทุกหนทุกแห่งบนโลกแม้แต่ในที่ที่สกปรกที่สุดก็ตาม ทั้งยังเผยความเป็นไปได้ที่เราจะหาทางกลับมามองเห็นชีวิตเหล่านั้นกันได้อีกครั้ง ผลงานของเขาใน Reflection of Mae Kha นั้น ชี้ไปยังการพึ่งพาอาศัยกันระหว่าง ธรรมชาติ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งไม่ได้มอบเพียงขณะเวลาแห่งการไตร่ตรองความคิดและความรู้สึกให้เราเท่านั้น แต่ยังเสนอกระบวนการเพื่อความเปลี่ยนแปลงด้วย มันมีสิ่งเล็กๆ เล็กจนแทบมองไม่เห็นอย่างสารทางชีวภาพที่ขยายร่างใหญ่ยักษ์มาประจันหน้ากับเรา สิ่งปนเปื้อนที่ถูกเปลี่ยนไปเป็นภาชนะสำหรับเสิร์ฟอาหาร และเรื่องเล่าจากชุมชนจะถูกรื้อฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาเล่าใหม่ ศิลปินได้สอบทานข้อมูลและนำมาเสนอใหม่ในสื่อใหม่เพื่อระเบิดสำนึกต่อประเด็นและสถานการณ์ที่เราชาด้านกับมันไปแล้ว เปิดทางให้สร้างสำนึกใหม่และมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับเรา
Reflection of Mae Kha คือการหลอมรวมปฏิบัติการทางศิลปะหลากหลายรูปแบบของอนุสรณ์เข้าด้วยกัน แล้วนำเข้ามาสู่ชีวิต เพื่อให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงต่อไปได้ เขาย้อนกลับไปยังพื้นฐานของระบบนิเวศวิทยาของคนกับสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน นํ้า และผู้คนที่มีปฏิสัมพันธ์กับมัน ทั้งยังได้มอบความหวังให้กับการจินตนาการถึงชีวิตใหม่ขึ้นมาจากเหตุการณ์และเรื่องราวเล็กๆ แต่พลิกแพลงได้หลากหลาย แม้กระนั้นทั้งหมดนี้ มันมีพื้นฐานอยู่บนการบูรณาการศาสตร์ที่สลายพรมแดนระหว่างสังคมกับศิลปะ
ค่าเข้าชมนิทรรศการ: ไม่มีค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับศิลปิน
อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต (เกิด พ.ศ. 2535 ที่ จ.แพร่) ใช้ชีวิตและทำงานในเชียงใหม่ เขาจบการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2559 เป็นศิลปินที่ทำงานผสมผสานข้ามศาสตร์สาขาด้วยสื่อหลายประเภท สื่อหลักที่เขาใช้คือประติมากรรม เสียง และภาพเคลื่อนไหว การทำงานของเขามุ่งที่จะเร่งเร้าหรือสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผัสสะผ่านการแปลความ เปลี่ยนรูป และแก้ไขข้อมูลข้ามสื่อ เขาได้รับเลือกเข้าร่วม Brandnew Project 2017 แสดงนิทรรศการเดี่ยวที่ Bangkok University Gallery ในปี พ.ศ.2561 และในส่วนของนิทรรศการกลุ่มที่ผ่านมาของเขานั้นก็ได้แก่ Island (2018) ที่หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, Nakanojo Biennale 2017 ในเมืองนากาโนโจ ประเทศญี่ปุ่น, Across the Sea of Stars (2017) ที่หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, Tran8tate (2016) ที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, และ Shuffling Spaces (2015) ที่ Gallery Seescape จ.เชียงใหม่
เกี่ยวกับภัณฑารักษ์
ลีโน วุธ (เกิด พ.ศ. 2525 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา) เขาเป็นศิลปิน ภัณฑารักษ์ และผู้อำนวยการทางศิลปะของ Sa Sa Art Projects ที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งขึ้นมา ที่นั่นเป็นพื้นที่ที่ดำเนินงานโดยศิลปิน ซึ่งริเริ่มขึ้นมาโดยกลุ่ม Stiev Selapak ปฏิบัติการทั้งในทางศิลปะและงานภัณฑารักษ์ของเขานั้นมักจะมีลักษณะเป็นการสร้างความมีส่วนร่วม การสำรวจการเรียนรู้การทดลองเป็นหมู่คณะ และการแลกเปลี่ยนเสียงที่หลากหลายเข้ามาหากัน ความสนใจอันกว้างขวางของเขามีจุดร่วมกันอยู่ระหว่างเรื่องของจุลประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ ความนึกคิดของชุมชน และผลผลิตจากสถานการณ์ทางสังคม ลีโน ได้รับทุน Fulbright (2013-15) ศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาโททางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะจาก The State University of New York ใน Binghamton ล่าสุดเขามีงานแสดงร่วมอยู่ใน The 9th Asia Pacific Triennial (2018) ที่ QAGOMA กรุงบริสเบน, นิทรรศการ Ties of History: Art in Southeast Asia (2018) ที่ Metropolitan Museum of Manila, University of the Philippines Vargas Museum และ Yuchengco Museum กรุงมะนิลา และ Biennale of Sydney (2018) ที่ Art Gallery of New South Wales ในฐานะของ Sa Sa Art Projects ส่วนโครงงานด้านภัณฑารักษ์ของเขาก็ได้แก่ Another Sound & Another Sound II (2018) โดย อานนท์ นงเยาว์ กับ Khvay Loeung ในกรุงพนมเปญและเชียงใหม่, When the River Reverses (2017) ที่ Sa Sa Art Projects กรุงพนมเปญ และ Oscillation (2016) หอศิลปวิทยนิทรรศน์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
เกี่ยวกับผู้จัด
Asian Culture Station (ACS) คือสถานีแวะพบที่มีไว้ให้ทุกคนมาร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติในเอเชียซึ่งรวมถึงประเทศญี่ปุ่น โดยมุ่งเน้นไปในทางศิลปะและวัฒนธรรม ACS ให้บริการสถานที่สำหรับการร่วมมือกันทำงาน จัดกิจกรรมทั้งในและนอกสถานีเพื่อเพิ่มความสนใจต่องานสร้างสรรค์ของศิลปิน และให้ข้อมูลด้วยเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ กับวัตถุชั้นต้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในภูมิภาค ACS ร่วมดำเนินการโดย เจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์ องค์กรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในระดับนานาชาติของญี่ปุ่น กับ CAC – Chiang Mai Art Conversation กลุ่มคนทำงานทางศิลปะ ที่จะมาร่วมทำสำนักงานในสถานีแห่งนี้ด้วย ACS ที่เชียงใหม่ถือเป็นหนึ่งในสามสถานที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือกับเจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์
http://asianculturestation.cac-art.info . www.facebook.com/AsianCultureStation
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Asian Culture Station
ที่อยู่: ถนนนิมมานเหมินท์(ซอยตรงข้ามกับซอย 13 และข้าง Hillside Condo 2) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
อีเมล: [email protected]
โทรศัพท์: 053 22 23 24
เฟสบุค: Asian Culture Station
เว็บไซต์: http://asianculturestation.cac-art.info/
Reflection of Mae Kha
a project by Anusorn Thuyapalit
curated by Vuth Lyno
Exhibition opening: 7 December 2018, 5 – 7 pm, at Asian Culture Station, Chiang Mai
Curator and Artist talk: 7 December 2018, 5 – 6 pm
Exhibition period: 8 December 2018 – 3 February 2019
Reflection of Mae Kha is an ambitious yet humble project by Chiang Mai-based artist Anusorn Tunyapalit who turns our attention to the ecology of Chiang Mai’s historical waterway – Mae Kha canal. Ambitious for its drawing on cross-disciplinary knowledge: humanities and science, however humble for its scale and approach of presenting micro-stories. The project engages with two different types of spaces – the social and the art – by manifesting into two parts: an immersive moving-image projection by the Mae Kha canal during the annual Loy Krathong festival and followed by an exhibition at the Asian Culture Station.
Mae Kha, excavated in the 13th century during the Lan Na Kingdom, connects water from Doi Suthep mountain and passes through Chiang Mai city before discharging into Ping River. For centuries, it served critical military, socio-political, cultural and agricultural functions for Chiang Mai city. However, over the last four decades particularly, the once clear canal has gradually suffered intense degradation due to urban transformation, unregulated housing, and pollution, making it become a dumping site and sewage of the city.
There have been many efforts in raising and tackling the issues of Mae Kha canal by various groups including urbanists, artists, as well as social and environmental groups. Anusorn returns to this recurring topic yet brings forward a refreshing reflection and artistic experimentation. Over the course of six months, the artist has engaged with a scientist, students, and community groups along Mae Kha in researching the environmental, social, and psychological impacts of the canal. Performing different roles of an experimenter, the artist collected micro-specimens from the canal water, soil along the canal, and stories from the surrounding communities.
These collected matters, both tangible and intangible, were then examined and transformed into new lives. The microscopic image of biological cells was enlarged into an immersive moving-image. Inspired by a local practice of detoxification of fish from the canal before consuming, the artist who is also a ceramist by training tested the canal mud and made it into pottery. A video documentary weaves together a story of the canal with various voices of those whose lives are immediately affected by it.
Anusorn’s work reminds us there is always life at every corner of the earth, even though at the dirtiest place, and it is possible to re-envision. His works in Reflection of Mae Kha point to the interdependency among nature, human, and built environment. They not only offer a moment of sensorial and intellectual reflection but also propose a process of transformation. Micro, almost invisible, biological substances become large and confronting; contaminants become ceramics for serving; stories from the communities are animated and retold. The artist remediates information and re-presents it in new mediums in order to heighten our senses to the topics and matters that we have been so immune to, introducing re-sensitivity and new experiences.
Reflection of Mae Kha marks Anusorn’s consolidation of his multi-faceted practice, that is brought into life to transform life. He turns to the basics of the ecology of human and their environment – the earth, the water and the people who interact with them. This offers a hope for re-imagination of a new life that is based on small yet transformative matters and stories, and this process is grounded on a cross-disciplinary approach that transcends boundaries between the social and the art.
Admission: Free of charge.
About artist
Anusorn Tunyapalit (b. 1992, Phrae, Thailand) lives and works in Chiang Mai. He graduated from the Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University in 2016. An interdisciplinary artist, Anusorn works with various media primarily sculpture, sound, and moving image. His practice centers on creating an intensified or new experience of the sensorium through interpretation, transformation, and remediation of information across mediums. He is an awardee of Brandnew Project 2017, receiving grant and support for presenting his solo exhibition at the Bangkok University Gallery in 2018. His recent group exhibitions include Island (2018), Chiang Mai University Art Center; Nakanojo Biennale 2017, Nakanojo, Japan; Across the Sea of Stars (2017), Chiang Mai University Art Center; Tran8tate (2016), the Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University; and Shuffling Spaces (2015), Gallery Seescape, Chiang Mai.
About curator
Vuth Lyno (b. 1982, Phnom Penh, Cambodia) is an artist, curator and Co-founding Artistic Director of Sa Sa Art Projects, a Phnom Penh’s artist-run space initiated by Stiev Selapak collective. His artistic and curatorial practice is primarily participatory in nature, exploring collective learning and experimentation, and sharing of multiple voices through exchanges. His interest intersects microhistories, notions of community, and production of social situations. Lyno holds a Master of Art History from the State University of New York, Binghamton, supported by Fulbright fellowship (2013-15). Lyno’s recent exhibitions include The 9th Asia Pacific Triennial (2018), QAGOMA, Brisbane; Ties of History: Art in Southeast Asia (2018), Metropolitan Museum of Manila, University of the Philippines Vargas Museum, and Yuchengco Museum, Manila; and Biennale of Sydney (2018) with Sa Sa Art Projects, the Art Gallery of New South Wales, Sydney. His recent curatorial projects include Another Sound & Another Sound II (2018) by Arnont Nongyao and Khvay Loeung, Phnom Penh & Chiang Mai; When the River Reverses (2017), Sa Sa Art Projects, Phnom Penh; and Oscillation (2016), the Art Center of Chulalongkorn University, Bangkok.
About organization
Asian Culture Station (ACS) is a gathering depot for citizens to build a sustainable relationship and to enrich mutual understanding between Thailand and other Asian nations including Japan. Focusing on arts and culture in particular, ACS provides a co-working space for collaboration, on & off site events for people’s appreciation of artistic endeavors, and information through sets of publications and first-hand materials for further study on the region. ACS is operated by the Japan Foundation Asia Center, Japan’s principal organization for cultural exchange, and Chiang Mai Art Conversation, an energetic artist collective whose office is also newly established within the station. ACS is Co-organized with the Japan Foundation Asia Center.
http://asianculturestation.cac-art.info . www.facebook.com/AsianCultureStation
For more information:
Asian Culture Station
Address: 28/11 Nimmanhaemin Rd. (the lane near Hillside Condo 2, opposite to Soi 13), Suthep, Muang, Chiang Mai
Email: [email protected]
Phone: 053 222 324
Facebook: Asian Culture Station
Website: http://asianculturestation.cac-art.info